![]() |
โครงการดูแลสุขภาพพระภิกษุสงฆ์ สามเณร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗
วันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ ณ พระมหาวิหาร ๑๐๐ ปี พระราชพรหมยาน (ศาลา ๑๒ ไร่) วัดจันทาราม (ท่าซุง) จังหวัดอุทัยธานี
"โครงการดูแลสุขภาพพระภิกษุสงฆ์ สามเณร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗" จัดขึ้นเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗๒ พรรษา ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ โดยจังหวัดอุทัยธานีร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ในวันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ ณ พระมหาวิหาร ๑๐๐ ปี พระราชพรหมยาน (ศาลา ๑๒ ไร่) วัดจันทาราม (ท่าซุง) อำเภอเมืองฯ จังหวัดอุทัยธานี โดยมีกิจกรรมที่สำคัญดังนี้
พิธีเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗
ถวายราชสักการะและกล่าวถวายราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ
(MOU) การดูแลสุขภาพพระภิกษุสงฆ์ และสามเณร เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗
ระหว่างกระทรวงสาธารณสุข โดยนายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ โดยนายอินทพร จั่นเอี่ยม ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
พิธีเปิดกุฏิชีวาภิบาล วัดจันทาราม (ท่าซุง) อำเภอเมืองฯ จังหวัดอุทัยธานี บริเวณอาคารพระเถระ สำหรับดูแลพระสงฆ์อาพาธให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
โดยนำเอานวัตกรรมเทคโนโลยีสมัยใหม่
(Virtual Hospital) มาสนับสนุนการให้บริการ ทำให้พระสงฆ์เข้าถึงการบริการได้อย่างมีคุณภาพ
มีการเชื่อมประสานกันระหว่างวัดและโรงพยาบาล
โดยมีพระคิลานุปัฏฐาก* (พระอาสาสมัครส่งเสริมสุขภาพประจำวัด) ซึ่งเป็นพระสงฆ์ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรการดูแลปฐมพยาบาลพระสงฆ์เบื้องต้นให้มีทักษะความรู้ในด้านสุขภาพ
ให้คำแนะนำพระสงฆ์ภายในวัดตามหลักพระธรรมวินัย และเตรียมการดูแลพระผู้สูงอายุภายในวัด ร่วมในการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ที่วัด
ซึ่งนอกจากจะให้คำแนะนำการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ภายในวัดแล้ว ยังให้ความรู้ให้การช่วยเหลือแก่ญาติโยมประชาชนในชุมชน
เพื่อให้มีสุขภาพที่ดีตามวิถีชีวิตและบริบทสังคมไทย สังคมไทย โดยกุฏิชีวาภิบาล วัดจันทาราม (ท่าซุง) นี้มีห้องพักเพื่อรับรองดูแลพระสงฆ์อาพาธจำนวน ๑๐ ห้อง
คิลาน + อุปฏฺฐาก = คิลานุปฏฺฐาก แปลว่า “ผู้พยาบาลคนป่วย” “ผู้รับใช้เวลาเจ็บไข้” “ผู้บริบาล” หน้าที่ของหน้าที่พระคิลานุปัฏฐาก คือ พระดูแลปฐมพยาบาลพระเบื้องต้นให้มีทักษะความรู้ในด้านสุขภาพ ให้คำแนะนำพระสงฆ์ภายในวัด ตามหลักพระธรรมวินัย และเตรียมการดูแลพระผู้สูงอายุภายในวัดโดยต้องผ่านการอบรมหลักสูตรการอบรมพระคิลานุปัฏฐาก เป็นเวลา ๕ วัน ประกอบด้วย การฝึกปฏิบัติจริง และความรู้ทางวิชาการจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ เช่น การวินิจฉัยและการตรวจคัดกรองผู้ป่วยระยะประคับประคอง, การประเมินและการจัดการอาการปวด, การดูแลอาการคลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น
ปัจจุบันประเทศไทยมีพระสงฆ์ ๒๘๘,๙๕๖ รูป ได้รับการอบรมพระคิลานุปัฎฐาก ๔,๐๐๐ รูป
และเมื่อพระอาพาธ ส่วนใหญ่พระจะต้องลาสิกขาเพื่อออกไปรักษาตัว แต่พระชรา หรือพระที่มีพรรษานานไม่อยากสึก การมีพระคิลานุปัฎฐาก
หรือพระอาสาสมัครส่งเสริมสุขภาพประจำวัด (อสว) ช่วยให้การอภิบาลในหมู่สงฆ์สะดวกและง่ายขึ้น
“ชีวาภิบาล” เป็นการสมาสคำสองคำ คือ “ชีวา” หรือชีวิต กับ “อภิบาล” คือ การบำรุง ดูแลอย่างรอบด้านเมื่อรวมกันจึงเป็นคำว่า “ชีวาภิบาล” ซึ่งหมายถึง การบำรุงดูแลชีวิต ดังนั้น ศูนย์ชีวาภิบาลจึงเป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้การดูแลชีวิตของผู้ป่วย ตามหลักการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative care) โดยเน้นการทำงานแบบองค์รวมเพื่อให้ได้รับการตอบสนองครอบคลุมทั้ง ๔ ด้าน คือ ด้านกาย ด้านจิตใจอารมณ์ ด้านสังคม และด้านจิตปัญญา
"กุฏิชีวาบาล" คือ ที่พํานักดูแลเยียวยาคุณภาพชีวิตสมณสงฆ์อาพาธ
แบบประคับประคอง เพื่อให้ภิกษุป่วยไข้ระยะท้ายมีทางเลือกที่จะได้รับการบริบาล ณ วัดต้นสังกัดอย่างถูกต้องตามหลักพระธรรมวินัย
ซึ่งในพระธรรมวินัย มีบางข้อจำกัดในการดูแลรักษาพยาบาลปกติ ทำให้ต้องมีการจัดตั้งสถานกุฎิชีวาภิบาลโดยเฉพาะสำหรับพระสงฆ์
![]() |
![]() |
![]() |
จังหวัดอุทัยธานีได้ดำเนินการเปิดสถานชีวาภิบาลแห่งแรก
สำหรับใช้ดูแลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง ผู้ป่วยระยะสุดท้าย ผู้สูงอายุที่ครอบครัวไม่พร้อมดูแล เมื่อวันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๖๖
โดยได้รับความเมตตาจากท่านพระครูปลัดสุวัฒนรัตนคุณ เจ้าอาวาสจันทาราม (ท่าซุง) อำเภอเมืองอุทัยธานี
ได้อนุญาตให้ใช้อาคารที่พัก ๒๕ ไร่ สำหรับจัดตั้งสถานชีวาภิบาล วัดจันทาราม(ท่าซุง) และต่อมาในวันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗
ได้ทำการเปิด "กุฏิชีวาบาล" วัดจันทาราม(ท่าซุง) สำหรับดูแลพระภิกษุสงฆ์ โดยใช้สถานที่ บริเวณตึกพระเถระ
มีห้องพักเพื่อรับรองดูแลพระสงฆ์อาพาธจำนวน ๑๐ ห้อง
![]() |
![]() |
![]() |
แนวทางการพัฒนาฯ |
คู่มือแนวทางการอบรม |
มาตรฐานอุปัฏฐากพระสงฆ์อาพาธ |
มาตรฐานและแนวทางการพัฒนา |
คู่มือแนวทางการดำเนินงาน |
ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ พ.ศ. 2566 |
คู่มือดำเนินการตามนโยบาย |
แนวทางการคัดเลือก |
กุฏิชีวาภิบาล@ทั่วไทย |
สูจีบัตร |
![]() |
![]() |
![]() |
พระพุทธรูปปางพยาบาลภิกษุอาพาธ |
||
พระพุทธรูปปางนี้สร้างขึ้นโดยอ้างอิงพุทธประวัติตอนหนึ่ง เล่าถึงพระภิกษุที่อาพาธด้วยโรคท้องร่วง เมื่อพระพุทธเจ้าทอดพระเนตรจึงได้ตรัสถามถึงโรคของภิกษุรูปนั้น และทรงทราบว่าไม่มีผู้ใดพยาบาลภิกษุรูปนี้ พระพุทธองค์จึงตรัสให้พระอานนท์ไปตักน้ำมา เมื่อนำน้ำมาแล้ว พระพุทธเจ้าทรงประคองภิกษุรูปนั้นทางศีรษะแล้วทำความสะอาดร่างกายภิกษุผู้อาพาธโดยมีพระอานนท์คอยช่วยเหลือ เมื่อเรียบร้อยแล้ว พระพุทธองค์ทรงสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์และได้สอบถามภิกษุทั้งหลายถึงสาเหตุที่ไม่มีผู้ใดพยาบาลภิกษุรูปนี้ จนได้คำตอบว่า เพราะพระภิกษุรูปนั้นไม่เคยอุปการะดูแลภิกษุใด จึงไม่มีใครพยาบาลภิกษุนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่มีมารดาไม่มีบิดา ผู้ใดเล่าจะพึงพยาบาลพวกเธอ ถ้าพวกเธอจักไม่พยาบาลกันเอง ใครเล่าจักพยาบาลดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดจะพึงอุปัฏฐากเรา ผู้นั้นพึงพยาบาลภิกษุอาพาธ ถ้ามีอุปัชฌายะ ปัชฌายะพึงพยาบาลจนตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะหาย ถ้ามีอาจารย์ อาจารย์พึงพยาบาลจนตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะหาย ถ้ามีสัทธิวิหาริก สัทธิวิหาริกพึงพยาบาลจนตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะหาย ถ้ามีอันเตวาสิก อันเตวาสิกพึงพยาบาลจนตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะหาย ถ้ามีภิกษุผู้ร่วมอุปัชฌายะ ภิกษุผู้ร่วมอุปัชฌายะพึงพยาบาลจนตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะหาย ถ้ามีภิกษุผู้ร่วมอาจารย์ ภิกษุผู้ร่วมอาจารย์พึงพยาบาลจนตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะหาย ถ้าไม่มีอุปัชฌายะ อาจารย์ สัทธิวิหาริก อันเตวาสิก ภิกษุผู้ร่วมอุปัชฌายะ หรือภิกษุผู้ร่วมอาจารย์ สงฆ์ต้องพยาบาล ถ้าไม่พยาบาล ต้องอาบัติทุกกฎ” หรือก็คือ พระพุทธเจ้าได้ตรัสสั่งสอนว่า หากภิกษุไม่ดูแลกันเองแล้วใครจะมาดูแล พร้อมกับตั้งกฎว่าหากผู้ใดไม่พยาบาลจะต้องอาบัติทุกกฎ ซึ่งถือเป็นอาบัติสถานเบา ที่มา: https://readthecloud.co/buddha-statue-in-the-attitude-of-nursing/ |